การกำหนดมาตรฐานการทำงานของ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย เพื่อให้การปฏิบัติงานตรงกัน

ปัจจุบันต้องยอมรับว่าทุกอาชีพมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ดังนั้นไม่ว่าคุณจะประกอบอาชีพอะไรก็ถือเป็นแรงผลักดันให้ประเทศชาติก้าวหน้า วันนี้จะขอแนะนำอีกหนึ่งอาชีพที่มีความสำคัญกับทุกองค์กร ในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัย อาชีพนี้มีความสำคัญที่จะช่วยดูแลและรักษาความปลอดภัยให้กับองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยทางด้านบุคคลหรือทรัพย์สินก็ตาม

ซึ่งอาชีพ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือที่หลายๆ คนเรียกกันติดปากว่า “จป.” นั้น ในแต่ละส่วนก็จะมีความรับผิดชอบที่แตกต่างกันออกไป อาจจะขึ้นอยู่กับสาขาที่ร่ำเรียนมา หรือความถนัดของแต่ละคน บุคลากรที่ประกอบอาชีพนี้จะดูแลความปลอดภัยในสถานประกอบการในส่วนต่างๆ และปฏิบัติตามข้อบังคับของประมวลกฏหมาย ปัจจุบันนี้อาชีพนี้กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในทุกอาชีพมากยิ่งขึ้น

บทบาทที่สำคัญของอาชีพ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย แบ่งออก ดังนี้

1  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับบริหาร สำหรับตำแหน่งงานระดับนี้ จะไม่ค่อยมีความแตกต่างจากระดับหัวหน้างานสักเท่าไหร่ แต่จะต่างกันตรงที่ ผู้ที่เข้ามาประกอบอาชีพนี้จะมาเป็น จป.บริหารต้องอยู่ในระดับสูงกว่าหัวหน้างานขึ้นไปเท่านั้น จะช่วยกำกับและดูแลให้ผู้จ้างในหน่วยงานทั้งหลายรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานตามข้อตกและและข้อบังคับตามคู่มือที่องค์กรมีให้

 

2  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับหัวหน้างาน สำหรับในตำแหน่งงานนี้ ชื่อก็บ่งบอกลักษณะการทำงานอยู่แล้ว สำหรับจป. หัวหน้างานนั้น เบื้องต้นจะต้องได้รับการฝึกอบรม เพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรมาเสียก่อน และจะต้องได้รับการประกาศแต่งตั้งเสียก่อน ซึ่งในแต่ละระดับความรับผิดชอบก็จะมีการทำสอบความสามารถเพื่อการเรียนรูปและปรับระดับเพื่อความเหมาะสม

 

3  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับเทคนิค สามารถวิเคราะห์รายละเอียดของหน่วยงาน เพื่อสามารถกำหนดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดอัตรายเบื้องต้นขึ้นได้ สำหรับองค์กรใหญ่ๆ หรือโรงงานขนาดใหญ่จะมี จป. ระดับเทคนิคประมาณ 20 – 50 คน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน โดยระดับนี้จะต้องได้รับการฝึกอบรมจากระดับหัวหน้างานเสียก่อน

 

4  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับเทคนิคขั้นสูง ปัจจุบันนี้ตามกฏหมายถ้าสถานประกอบกิจการ มีการระบุไว้ว่าถ้าองค์กรมีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 100 คน จะต้องมีพนักงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ในความปลอดภัยระดับเทคนิคขั้นสูง เพื่อช่วยในการดูแลในเรื่องของความปลอดภัยภายในองค์กร

 

5  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ระดับวิชาชีพ สำหรับตำแหน่งนี้ถือว่าเป็น จป. ที่จบปริญญาตรีด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย หรือวิทยาศาตร์ความปลอดภัยจากสถาบันการศึกษา ไม่สามารถจบจากการอบรมหรือสอบเพียงอย่างเดียวเท่านั้นได้  ในสถานประกอบการจำเป็นจะต้องมี จป.วิชาชีพ อย่างน้อยหนึ่งคน ในกรณีมีพนักงานตั้งแต่หนึ่งร้อยคนขึ้นไป

 

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการกำหนดมาตรฐานในการทำงานนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยในการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที อาชีพนี้จึงมีความสำคัญในการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ พร้อมทั้งสามารถประเมินความเสี่ยงได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน